ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week3: social Network กับนักเรียนและสังคมไทย


ปัจจุบันเราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าวัยรุ่นกับ  social Network เป็นของคู่กัน  วัยรุ่นคนไหนที่ไม่ติด social Network คงจะแปลก และหาได้ยากมาก  อย่างน้อยก็ต้องติด line คุยกับเพื่อนบ้างนั่นแหละ  เห็นไหมว่าเรากับ social Network เป็นของคู่กันจริงๆกับเด็กสมัยนี้
ภาพที่พบเห็นในปัจจุบัน คือไม่ว่าจะไปทำอะไร ที่ไหน ปรากฏภาพผู้คนในสังคมไทย คือต่างยกโทรศัพท์มือถือมาถ่ายรูปแล้วโพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย หรือแต่ละคนกลายเป็นสังคมก้มหน้า สนใจแต่ความเคลื่อนไหวในหน้าจอเทคโนโลยีในมือ มากกว่าจะสนใจผู้คนหรือสิ่งรอบข้าง จนเสมือนว่า แต่ละคนมีโลกส่วนตัวและเรื่องราวต้องทำมากมายในโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้น จนทำให้ผู้เขียนเกิดความรู้สึกกลัวไปเองว่า ในเวลาไม่นานนี้ การปฏิสัมพันธ์หรือพูดคุยระหว่างผู้คน คงเปลี่ยนรูปแบบไปสู่การเขียนบนหน้าจอเทคโนโลยีในมือ แทนการพูดด้วยปากที่ได้ยินเสียง อันแสดงถึงอารมณ์ ความรู้สึกและการรับรู้ระหว่างกัน จนในที่สุด ความเพิกเฉยต่อการรับรู้ ความรู้สึกระหว่างกัน จะลดน้อยลงไปตามลำดับ ถึงขั้นลืมวิธีการปฏิสัมพันธ์กันในชีวิตจริง

ทำไมโซเซียลเน็ตเวิร์คถึงมีพลังมากในการสื่อสารในปัจจุบัน
  เพราะมีคนใช้เยอะ      โซเชียลเน็ตเวิร์คที่คนไทยนิยมใช้กันมากคือเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ จากสถิติที่แสดงโดย 
socialbakers.com ในวันที่ 19 ธันวาคม 2554 พบว่าจำนวนคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กมีประมาณ 13 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 20% ของประชากรทั้งหมด และมีอัตราการเติบโตของการใช้เฟซบุ๊กประมาณ 9%
จากสถิติที่แสดงโดย http://www.lab.in.th/thaitrend/  พบว่าจำนวนคนไทยที่ใช้ทวิตเตอร์มีประมาณ 8 แสนคน แต่ที่ใช้กันทุกวันมีประมาณ 1 แสนคน

กลุ่มคนที่ใช้เป็นกลุ่มคนที่มีสถานะทางการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมสูง มีเวลาและพลังในการกระจายข่าวและความคิดให้แก่คนอื่น ผู้ใช้เฟซบุ๊กอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี 34% และช่วงอายุ 25-34 ปี 29%
มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการสื่อสารแบบอื่น เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่มาจากเพื่อน คนใกล้ตัว หรือคนที่เรารู้จัก โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นการสื่อสารในลักษณะปากต่อปาก
ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ชอบสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลให้แก่กัน  อยากแสดงออกความมีตัวตนของตน เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่อดีต  เมื่อก่อนคนเขียนบนผนังถ้ำ ผนังกำแพง ผนังวัด  ใบลาน และหนังสือ การรับรู้ของสิ่งที่คนเขียนอยู่ในวงจำกัดและขยายไปให้ผู้อื่นใช้เวลานาน แต่ตอนนี้คนเขียนบนโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านโมบายแอปหรือเว็บแอปซึ่งรันอยู่บนอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงคนทั้งโลก ทำให้ส่ิงที่คนเขียนแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วและมีพลังมาก




แนวโน้มอนาคตจะมีจำนวนคนใช้มากขึ้นและมีพลังมากขึ้น
ผลกระทบจากประชาคมอาเซียนที่ไทยจะต้องเข้าร่วมกับประเทศอื่นอย่างใกล้ชิดมากขึ้นในปี 2558  และหลายประเทศในอาเซียนมีผู้ใช้เฟซบุ๊กเป็นจำนวนมากจากสถิติที่แสดงใน socialbakers.com ในวันที่ ประเทศ จำนวนคนที่ใช้  เปอร์เซนต์ที่ผู้ใช้เพิ่มขึ้น อัตราส่วนของคนที่ใช้ต่อคนทั้งประเทศ
Indonesia 41,774,960 +4.06% 17.19% (อันดับ 2 ของโลก)
Philippines 27,033,680 +1.17% 27.06%  (อันดับ 8 ของโลก)
Thailand 13,276,200  +6.83% 19.99% (อันดับ 16 ของโลก)
Malaysia 12,060,200 +2.63% 46.10% (อันดับ 17 ของโลก)
Vietnam 3,607,220 +43.12% 4.03% (อันดับ 41 ของโลก)
Singapore 2,661,360 +2.77% 56.61% (อันดับ 52 ของโลก)
Laos 129,660 +41.70% 1.85%
กลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊กที่เป็นนักเรียนนักศึกษาจะยังคงใช้เฟซบุ๊กเมื่อเขาทำงาน
การใช้เฟซบุ๊กมีผลช่วยเขาในการได้งานทำและการทำงาน
จากผลการสำรวจและรายงานของบริษัท jobvite พบว่าคนอเมริกันกว่า 22 ล้านคนใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นเครื่องมือในการช่วยหางานทำ 86% ของคนที่หางานทำมีบัญชีโซเชียลเน็ตเวิร์คของตนเอง และประมาณ 15% ได้งานจากการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค  ในขณะเดียวกันหลายบริษัทก็ใช้เฟซบุ๊กเพจในการหาคนที่ีมีความสามารถเข้ามาทำงานให้บริษัท
ข้อดีข้อเสียของโซเชียลเน็ตเวิร์ก กับเด็กวัยรุ่น
ข้อดี
       
 โซเชียลเน็ตเวิร์ก จะเป็นการสร้างเครือข่ายและจุดประกายด้านการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หากใช้ได้อย่างถูกวิธี
      
       
 ทำให้ไม่ตกข่าว คือทราบความคืบหน้า เหตุการณ์ของบุคคลต่างๆและผู้ที่ใกล้ชิด
      
       
 ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม แฟนคลับหรือผู้ที่มีเป้าหมายเหมือนกัน และทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้
      
     
 สามารถสร้างมิตรแท้ หรือเพื่อนที่รู้ใจที่แท้จริงได้
      
     
 โซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นซอฟแวร์ที่เอื้อต่อผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัวทางสังคม ขาดเพื่อน อยู่โดดเดี่ยว หรือผู้ที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ให้มีเครือข่ายทางสังคม และเติมเต็มชีวิตทางสังคมได้อย่างดี ไม่เหงาและปรับตัวได้ง่ายขึ้น
      
     
 สร้างเครือข่ายที่ดี สร้างความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้อื่นได้

 ข้อเสีย
      
 โซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นการขยายเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นการมีเพิ่มเพื่อนเครือข่ายที่ไม่รู้จักดีพอ จะทำให้เกิดการลักลอบขโมยข้อมูล หรือการแฝงตัวของขบวนการหลอกลวงต่างๆได้
      
      
. เพื่อน ทุกคนในเครือข่ายสามารถเขียนข้อความต่างๆลง Wall ของ โซเชียลเน็ตเวิร์ก ได้แต่หากเป็นข้อความที่เป็นความลับ การใส่ร้ายกัน หรือแฝงไว้ด้วยการยั่วยุต่างๆ จะทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีวุฒิภาวะพอ หลงเชื่อ เกิดความขัดแย้ง และปัญหาตามมาในภายหลังได้
      
      
. โซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจเป็นช่องทางในการสร้างสังคมแห่งการนินทา หรือการยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสังคมที่ชอบสอดรู้สอดเห็น
      
      
. การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดให้กับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักดีพอ เช่นการลงรูปภาพของครอบครัวหรือลูก อาจนำมาเรื่องปัญหาการปลอมตัว หรือการหลอกลวงอื่นๆที่คาดไม่ถึงได้
      
      
 เด็กๆที่ใช้เวลาในการเล่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก มากเกินไป จะทำให้เสียการเรียน
      
      
 ในการสร้างความผูกพันและการปรับตัวทางสังคมเป็นการพบปะกันในโลกของความจริง มากกว่าในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นผู้อยู่ในโลกของไซเบอร์มากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาทางจิต หรือขาดการปรับตัวทางสังคมที่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเล่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก ตั้งแต่ยังเด็ก
      
     
 โซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจเป็นแรงขับให้มีการพบปะทางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริงที่น้อยลงได้ เนื่องจากทราบความเคลื่อนไหวของผู้ที่อยู่ในเครือข่ายอย่างตลอดเวลา
      
     
 นโยบาย ของบางโรงเรียน บางมหาวิทยาลัย บางครอบครัวหรือในบางประเทศมีปัญหามากมายที่เกิดจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทำให้ โซเชียลเน็ตเวิร์ก ไม่ได้รับการอนุญาตให้มีในหลายพื้นที่
      
จึงกล่าว ได้ว่าผู้ปกครองควรเอาใจใส่ลูกหลานของท่านที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นซึ่งนิยมท่อง โลกอินเตอร์เน็ต ให้มีความระมัดระวังและมีวิจารณญาณในการเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์กมากยิ่งขึ้น เพราะ โซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นเป็นทั้งสื่อที่มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ในเวลาเดียวกัน

อ้างอิง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น